การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
อาเซียนประกาศรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ 2558

เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ
จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
1. ภาพรวม
1.1 อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประกอบด้วยสามเสาหลัก
ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำอาเซียน คือ การสร้าง
ประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็น
ศูนย์กลาง โดยเมื่อปี 2551 ได้มีการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Roadmap) ในทั้งสามเสาหลัก
ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือการสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง
โอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ประชาชนมี
ความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และประชาชนในอาเซียนมี
ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1.2 ต่อมาในปี 2552 ไทยได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity)
เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
(ค.ศ. 2015) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก
1.3 นอกจากการสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งแล้ว อาเซียนยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์
กับนอกภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมในภูมิภาค และ
เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก
2. การดำเนินการเพื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
2.1 สามเสาหลักของประชาคมอาเซียน
2.1.1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) มีกติกาและมีการพัฒนา
ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน โดยยึดมั่นหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการภายในและการส่งเสริมค่านิยมของ
ประชาคมควบคู่กันไป 2) มีความเป็นเอกภาพ ความสงบสุข และความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน
เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนพึ่งพาอาศัยกลไกของตนมากขึ้นใน
การแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ในภูมิภาค และ 3) มีพลวัตและมีปฏิสัมพันธ์กับนอกภูมิภาคอาเซียน
2.1.2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) การเป็นตลาดและฐาน
การผลิตเดียวสำหรับประชากร 600 ล้านคนในอาเซียน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและบุคลากร
วิชาชีพต่าง ๆ อย่างสะดวกมากขึ้น และมีการไหลเวียนอย่างเสรียิ่งขึ้นสำหรับเงินทุน 2) การสร้างขีดความสามารถใน
การแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกิจ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยการพัฒนา SMEs และการเสริมสร้าง
ขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration:
IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการปรับประสาน
นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน รวมทั้งส่งเสริม
การสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
2.1.3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคม
ที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยให้ความสำคัญ
กับการดำเนินการใน 6 สาขา ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา
2.2 ความเชื่อมโยง อาเซียนได้จัดทำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Master
Plan on ASEAN Connectivity) ในปี 2553 เพื่อเป็นกรอบในการร่วมมือในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันใน 3 มิติ
คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยความเชื่อมโยงดังกล่าว
จะเน้นอาเซียนในเบื้องต้น และจะเป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยงไปภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ
อื่น ๆ ต่อไป
3. ความสัมพันธ์กับนอกภูมิภาค
3.1 การรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนเป็นผู้ขับเคลื่อน
กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ASEAN+1 ASEAN+3 East Asia Summit (EAS) และ ASEAN Regional
Forum (ARF) ทั้งนี้ อาเซียนสามารถผลักดันให้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุดกับอาเซียน
3.2 การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก อาเซียนมีส่วนร่วมในการประชุม G20 อย่างต่อเนื่อง และมีการประชุม
ระหว่างผู้นำอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้จัดทำความเป็นหุ้นส่วนรอบด้านกับ
สหประชาชาติ (ASEAN-UN Comprehensive Partnership) โดยส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นที่มีผลประโยชน์
ร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม Bali Declaration on the ASEAN Community in the Global
Community of Nations (Bali Concord III) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีโลก
มากขึ้น และผลักดันให้อาเซียนมีท่าทีที่สอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นในประเด็นที่ประเทศสมาชิก
อาเซียนให้ความสำคัญ และล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำ
อาเซียนได้รับรอง Bali Concord III Plan of Action เพื่อวางแนวทางการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
4. ภาพรวมพัฒนาการในอาเซียน
• การสร้างประชาคมอาเซียน อาเซียนให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานสู่
ประชาคมอาเซียนในทั้งสามเสา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะการเร่งรัด
การรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตภายในภูมิภาคเป็นหลัก และลดการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน
ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้มีความเสมอภาคกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น ทั้งนี้
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะกำหนดวันที่อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียน
อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
• การขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา FTA ของอาเซียน 6
ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ได้ประกาศเริ่มการเจรจา RCEP อย่างเป็นทางการ
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 โดย RCEP จะเป็น FTA ระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมตลาดครึ่งหนึ่งของโลก
• การบริหารจัดการภัยพิบัติ อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนสำหรับความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ (AHA Center) ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อเป็นกลไกกลางในการประสานข้อมูลเกี่ยวกับ
การเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ นอกจากนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพ
ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีจัด ARF Disaster Relief Exercise 2013 (DiREx 2013) ในเดือนพฤษภาคม 2556 เพื่อ
ฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค
• สิทธิมนุษยชน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ได้รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ASEAN Human Rights Declaration) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ในภูมิภาคและสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียนในการยึดมั่นหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่ง
ถือเป็นค่านิยมสากล
• สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation -
AIPR) ในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 21 ได้มีการเปิดตัวสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ ซึ่ง
เป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน (Track II) โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องสันติภาพ
การจัดการความขัดแย้ง และการแก้ไขความขัดแย้ง
• ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center - ARMAC) ผู้นำอาเซียน
เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมาย
ให้ภูมิภาคอาเซียนปราศจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหา
ด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากทุ่นระเบิด
ที่มา : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
https://sites.google.com/site/icepattarapol2/kar-rwm-taw-pen-prachakhm-xaseiyn-ni-pi-2558-2015
นายณัฐชนน สรรค์พฤกษ์สิน เลขที่ 28 ห้อง 143
นายศิรวิทย์ ศุภศิลป์ เลขที่ 37 ห้อง 143
นายอภิวิชญ์ ศิริเศรษฐ์ เลขที่ 38 ห้อง 143
ที่มา : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
https://sites.google.com/site/icepattarapol2/kar-rwm-taw-pen-prachakhm-xaseiyn-ni-pi-2558-2015
นายณัฐชนน สรรค์พฤกษ์สิน เลขที่ 28 ห้อง 143
นายศิรวิทย์ ศุภศิลป์ เลขที่ 37 ห้อง 143
นายอภิวิชญ์ ศิริเศรษฐ์ เลขที่ 38 ห้อง 143
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น